เมนู

8. ทุติยมหาปัญหาสูตร


ว่าด้วยอุบาสกชาวเมืองกชังคละถามปัญหากชังคลาภิกษุณี


[28] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ ใกล้กชัง-
คลนคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองกชังคละมากด้วยกัน เข้าไปหา
กชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทกชังคลาภิกษุณีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามกชังคลาภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา 1 อุเทศ1
ไวยากรณ์ 1 ปัญหา 2 อุเทศ 2 ไวยากรณ์ 2 ปัญหา 3 อุเทศ 3
ไวยากรณ์ 3 ปัญหา 4 อุเทศ 4 ไวยากรณ์ 4 ปัญหา 5 อุเทศ 5
ไวยากรณ์ 5 ปัญหา 6 อุเทศ 6 ไวยากรณ์ 6 ปัญหา 7 อุเทศ 7
ไวยากรณ์ 7 ปัญหา 8 อุเทศ 8 ไวยากรณ์ 8 ปัญหา 9 อุเทศ 9
ไวยากรณ์ 9 ปัญหา 10 อุเทศ 10 ไวยากรณ์ 10 ดังนี้ ข้าแต่แม่เจ้า
เนื้อความแห่งพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดย
พิสดารได้อย่างไรหนอ.
กชังคลภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้
เราได้สดับรับฟังหาแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็หามิได้ เราได้สดับรับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะหน้าของภิกษุทั้งหลาย
ผู้สำเร็จทางใจก็หามิได้ ก็แต่ว่าเนื้อความในพระพุทธภาษิตนี้ย่อมปรากฏ
แก่เราอย่างไร ท่านทั้งหลายจงฟังเท้อความแห่งพระพุทธภาษิตนั้นอย่าง
นั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละ
รับคำของกชังคลาภิกษุณีแล้ว กชังคลาภิกษุณีได้กล่าวว่า ก็พระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า ปัญหา 1 อุเทศ 1 ไวยากรณ์ 1

ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ
หน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็น
ที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง 1 ย่อมเป็นผู้
ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรมอย่าง 1 เป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวง
มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง 1 นี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ใน
ปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า ปัญหา 1 อุเทศ 1
ไวยากรณ์ 1 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้นี้ตรัสแล้ว.
ก็พระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ปัญหา 2 อุเทศ 2 ไวยากรณ์ 2
ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ
หน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็น
ที่สุดโยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 2 อย่าง ย่อมเป็น
ผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม 2 อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม 1
ในรูป 1.
ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญหา 3 อุเทศ 3
ไวยากรณ์ 3 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูก่อนผุ้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดย
ชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 3
อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม 3 อย่างเป็นไฉน
คือ ในเวทนา 3.
ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญหา 4 อุเทศ 4

ไวยากรณ์ 4 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ
บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 4 อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
ในปัจจุบัน ในธรรม 4 อย่างเป็นไฉน คือ ในสติปัฏฐาน 4 ดูก่อน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุด
โดยชอบ ในธรรม 4 อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญหา 4 อุเทศ 4 ไวยากรณ์ 4
ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว.
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญหา 5 อุเทศ 5
ไวยากรณ์ 5 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูก่อนผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันจิตดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ
บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 5 ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ใน
ปัจจุบัน ในธรรม 5 อย่างเป็นไฉน คือ ในอินทรีย์ 5.... ในธรรม 6
อย่างเป็นไฉน คือ ในนิสสรณียธาตุ 6. .. ในธรรม 7 อย่างเป็นไฉน
คือ ในโพชฌงค์ 7 ... ในธรรม 8 อย่างเป็นไฉน คือ ในอริยมรรค
มีองค์ 8 ... ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ
มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 8 อย่างนี้
แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ปัญหา 8 อุเทศ 8 ไวยากรณ์ 8 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัย
ข้อนี้ตรัสแล้ว.
ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญหา 9 อุเทศ 9
ไวยากรณ์ 9 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูก่อนมีอุเทศทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ
มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 9 อย่าง
ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม 9 อย่างเป็นไฉน คือ
ในสัตตาวาส 9 ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ
ในธรรม 9 อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญหา 9 อุเทศ 9 ไวยากรณ์ 9 ดังนี้
พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ
ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญหา 10 อุเทศ 10
ไวยากรณ์ 10 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูก่อนผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ
บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 10 อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
ในปัจจุบัน ในธรรม 10 อย่างเป็นไฉน คือ ในกุศลธรรม 10 ดูก่อน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุด
โดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 10 อย่างนี้แล ย่อมเป็น
ผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ปัญหา 10 อุเทศ 10 ไวยากรณ์ 10 ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้
ตรัสแล้ว.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในมหา
ปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา 1 อุเทศ 1 ไวยากรณ์ 1 ฯลฯ ปัญหา 10
อุเทศ 10 ไวยากรณ์ 10 เราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดังนี้แล ดูก่อน

ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แล ท่านทั้งหลายจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วทูลสอบถามความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงพยากรณ์
อย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.
พวกอุบาสกชาวเมืองชังคละรับคำว่า อย่างนั้นแม่เจ้า แล้วชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของกชังคลาภิกษุณี ลุกจากอาสนะ อภิวาทกชังคลาภิกษุณี
ทำประทักษิณแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงกราบทูล
ถ้อยคำที่สนทนากับกชังคลาภิกษุณีนั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ คหบดีทั้งหลาย กชังคลา-
ภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ถ้าแม้ท่านทั้งหลาย
พึงเข้ามาหาเราแล้ว ถามเนื้อความนี้ไซร้ แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความ
เหมือนอย่างที่กชังคลาภิกษุณีพยากรณ์แล้ว และเนื้อความของคำนั้น
คือนี้แหละ ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความไว้อย่างนั้นแหละ.
จบทุติยมหาปัญหาสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยมหาปัญหาสูตรที่ 8


ทุติยมหาปัญหาสูตรที่ 8

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กชงฺคลายํ ได้แก่ นครมีชื่ออย่างนี้. บทว่า กชงฺคลา
แปลว่า ชาวกชังคลานคร. บทว่า มหาปญฺเหสุ ได้แก่ ปัญหาที่กำหนด
ข้อความใหญ่ ๆ. บทว่า ยถาเมตฺถ ขายติ ความว่า ปรากฏแก่ข้าพเจ้าใน
ข้อนี้โดยประการใด. บทว่า สมฺมาสุภาวิตจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตอบรม
ด้วยดี โดยเหตุ โดยนัย. บทว่า เอโส เจว ตสฺส อตฺโถ ความว่า ปัญหา